กระบังลมหย่อน อันตรายไหม มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

กระบังลมหย่อน อันตรายไหม มีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง?

กระบังลมหย่อน ดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่ไกลตัว ดูเกิดขึ้นได้ยาก แต่แท้จริงแล้วเป็นภาวะของคุณผู้หญิงที่ใกล้ตัวมาก ๆ และในบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องรอให้มีอายุก่อนจึงเกิดปัญหานี้ขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการที่สาว ๆ ทุกคนต้องทำความรู้จักและทำความเข้าใจกันก่อนว่าปัญหากระบังลมที่มีความหย่อนยานนี้คืออะไร เกิดจากอะไรและส่งผลอย่างไรต่อผู้หญิงอย่างเรา ๆ บ้าง และจากนั้นจึงทำการศึกษาว่าแนวทางการแก้ไขภาวะนี้มีอะไรบ้าง ในบทความนี้ Rejavoo Clinic มีคำตอบมาฝากกันค่ะ

กระบังลมหย่อน คืออะไร สังเกตยังไง รักษาด้วยวิธีไหนดี?

ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น ส่งผลให้จำนวนประชากรสูงอายุมากขึ้นพร้อม ๆ กับปัญหาสุขภาพเสื่อมถอยไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าเสื่อม สมองเสื่อม หรือตาเป็นต้อ ซึ่งพบได้ทั้งหญิงและชาย แต่มีอยู่โรคหนึ่งที่พบไม่น้อยเฉพาะในหญิงสูงอายุ ซึ่งเป็นแล้วไม่ค่อยยอมมาหาหมอ โรคที่ว่านี้คือ“กระบังลมหย่อน” นั่นเอง

กระบังลมหย่อนเกิดจากอะไร?

อวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน หรือ กระบังลมหย่อน หมายถึง การเคลื่อนหรือหย่อนของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ได้แก่ มดลูก ผนังช่องคลอด หรือทั้ง 2 อย่างลงมาต่ำกว่าตำแหน่งปกติ ซึ่งบางครั้งอาจหย่อนมากจนโผล่พ้นปากช่องคลอดออกมาภายนอกได้

ซึ่งสาเหตุของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเกิดจากเนื้อเยื่อและกล้มเนื้ออุ้งเชิงกรานเสื่อมสภาพ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มารับกรรักษาเพราะไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่มาก แต่บางรายไม่มารับการรักษาเนื่องจากอาย หรือไม่ทราบว่าสามารถรักษาได้

โดยปัจจัยเสี่ยงของอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อน

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์และคลอดทางช่องคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีคลอดยากหรือใช้เครื่องมือช่วยคลอด
  • อายุที่มากขึ้น
  • ภาวะที่มีแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอเรื้อรัง ท้องผูก ยกของหนัก และภาวะโรคอ้วน

จะรู้ได้ไงว่ากระบังลมมีการหย่อนยานลง?

สำหรับคุณผู้หญิงที่มีอวัยวะอุ้งเชิงกรานหย่อนเล็กน้อยอาจไม่แสดงอาการ ในรายที่มีการหย่อนชัดเจนจะมาพบแพทย์ด้วยอาการต่อไปนี้

1. ปวดหน่วงในท้องน้อย
2. รู้สึกถ่วงในช่องคลอดเหมือนมีอะไรจะหลุด
3. ปวดหลังบริเวณบั้นเอว
4. คลำพบก้อนยื่นออกมาทางปากช่องคลอด
5. ถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระลำบาก ต้องใช้นิ้วดันส่วนของช่องคลอดที่ยื่นออกมาให้เข้าไปก่อนจึงจะปัสสาวะหรืออุจจาระได้ตามปกติ
6. ตกขาวหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับภายนอก
7. อาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม เป็นต้น
8. อาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ เช่น ถ่ายอุจจาระไม่สุด กลั้นอุจจาระไม่ได้ เป็นตัน
9. รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์

กระบังลมหย่อนแก้ยังไง

สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน

1. ออกกำลังกาย

ในรายที่เป็นไม่รุนแรงอาจใช้แค่การบริหารกล้ามเนื้อกระบังลมด้วยวิธีง่าย ๆ โดยการขมิบก้น จะทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมต้องมีการหดรัดตัว ทำให้กล้ามเนื้อดังกล่าวมีการหนาตัว ตึงตัว และแข็งแรงขึ้น เหมือนกล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่และแข็งแรงขึ้นจากการตีแบดมินตันหรือเล่นเทนนิส

วิธีการขมิบก้นที่ได้ผลจะต้องขมิบให้แรงพอและนานพอ ซึ่งทดสอบได้ง่าย ๆ โดยขณะที่ทำการถ่ายปัสสาวะให้ลองขมิบก้นให้แรงจนปัสสาวะหยุดไหล เวลาขมิบจริงให้ใช้ความแรงประมาณนั้น แต่อย่าทำตอนถ่ายปัสสาวะ เพราะเดี๋ยวจะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบหรือถ่ายปัสสาวะลำบากในภายหลังได้ ท่านจะขมิบเวลาไหนก็ได้ แต่ควรทำอย่างน้อยวันละ30-50ครั้ง ๆ ละ5-10 วินาที ทำไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน ถึงจะเห็นผล

2. การผ่าตัดรักษา

จะทำในรายที่เป็นรุนแรง มีการหย่อนของผนังช่องคลอดหรือมดลูกค่อนข้างมาก การผ่าตัดอาจทำเพียงแค่ตัดผนังช่องคลอดส่วนที่หย่อนยานทิ้ง แล้วเย็บซ่อมให้แข็งแรง หรืออาจต้องตัดมดลูกทิ้งร่วมไปด้วย ในกรณีที่มดลูกหย่อนและยื่นลงมาค่อนข้างมาก การผ่าตัดดังกล่าวทำไม่ยากและใช้เวลาไม่มาก แต่ได้ผลค่อนข้างดี ส่วนมากจะหายขาดจากอาการทุกข์ทรมานทั้งหลายอย่างเห็นได้ชัด มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กลัวการผ่าตัด แต่หลังจากผ่าตัดแล้วพบว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้น รู้อย่างนี้ผ่าตัดมาเสียตั้งนานแล้วก็มี

“เทคโนโลยีรีแพร์” การผ่าตัดที่ช่วยแก้ไขปัญหาความหย่อนยานของกระบังลม-อุ้งเชิงกรานได้อย่างยั่งยืน

ผ่าตัดรีแพร์ หรือ การผ่าตัดกระชับช่องคลอด เป็นการเย็บติดเพื่อรวบเนื้อเยื่อที่นูนเข้าด้วยกัน ในกรณีที่มีการหย่อนยานของผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง แพทย์จะทำการผ่าตัดกระชับช่องคลอด และรักษากระบังลมหย่อน โดยเป็นการผ่าตัดนำผนังช่องคลอดทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง และเนื้อเยื่อส่วนเกินที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดออกไป

รวมทั้งทำการตกแต่งกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ส่วนปลายที่หย่อนคล้อย กรณีที่ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนอย่างรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาใช้แผ่นพยุงตาข่ายพิเศษร่วมด้วย เพื่อให้เนื้อเยื่อและอวัยวะในอุ้งเชิงกรานกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนดีขึ้นและกระชับช่องคลอดมากยิ่งขึ้น

รีแพร์แบบผ่าตัด มีกี่แบบ อะไรบ้าง และต่างกันอย่างไร?

ผ่าตัดรีแพร์นั้น มี 2 รูปแบบด้วยกัน ประกอบด้วย…

การผ่าตัดเล็ก

สำหรับคนไข้ที่ต้องการกระชับช่องคลอดเพียงอย่างเดียว เป็นการผ่าตัดเฉพาะด้านหลังผนังช่องคลอด ใช้เพียงการฉีดยาชาบล็อกเส้นประสาทเฉพาะจุด ไม่ต้องวางยาสลบหรือใส่ท่อช่วยหายใจ

การผ่าตัดใหญ่

สำหรับแก้ไขกระชับช่องคลอด โดยช่องคลอดที่หลวม หย่อนยานจากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน เป็นการผ่าตัดทั้งด้านหน้าและด้านหลังของผนังช่องคลอด เพื่อรักษาอาการปัสสาวะเล็ด มดลูกหย่อนยาน และอาการอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งการผ่าตัดมีรายละเอียดมากกว่าการผ่าตัดเล็ก

ผลลัพธ์จากการเข้ารับบริการรีแพร์แบบผ่าตัด

เนื่องจากการรีแพร์แบบผ่าตัดเป็นแนวทางที่สามารถแก้ไขปัญหากระบังลมชนิดนี้ได้อย่างยั่งยืน โดยนอกจากแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แล้ว ก็ยังมีผลลัพธ์อื่น ๆ ที่ตามมาด้วยเช่นกัน

  • ช่วยทำให้ช่องคลอดกระชับ มีความยื่นหยุ่นมากขึ้น
  • ทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดแข็งแรงมีการบีบรัดตัวมากขึ้น
  • คืนความชุ่มชื่นตามธรรมชาติให้กับช่องคลอด
  • ลดอาการปัสสาวะเล็ดเวลาไอหรือจาม และกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • เห็นความเปลี่ยนแปลงทันทีที่ทำเสร็จ
  • ทำให้รูปลักษณ์ทั้งภายนอกและภายใน สีสันดูเข้ารูปและลดการหมองคล้ำจุดเซ่อนเร้น

อย่างไรก็ตาม ผ่าตัดรีแพร์ เป็นการทำรีแพร์ด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดเล็ก ๆ สำหรับคนที่มีปัญหาไม่หนักมาก และผ่าตัดใหญ่สำหรับคนที่ต้องการรีแพร์อย่างเร่งด่วน มีปัญหามากและอาการนั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตตัวเอง โดยจะเป็นการผ่าตัดในแง่ของการศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงามและความมั่นใจ สำหรับผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไปหรือวัยทอง จะเป็นการผ่าตัดในแง่ของการรักษาภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนนั่นเอง

 

บริการรีแพร์

Rejavoo Clinic คลินิกเพื่อความสวยความงาม ครบทุกวงจร

ผู้นำนวัตกรรมด้านความสวยความที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นด้านผิวพรรณ ด้านการกระชับตามจุดต่าง ๆ และหัตถการฉีดใบหน้า ซึ่งเรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย ปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการรีแพร์ได้รับความประทับใจและปลอดภัยจากบริการที่มีประสิทธิภาพจากทาง Rejavoo Clinic ให้ได้มากที่สุด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำรีแพร์อยู่ได้นานไหม ดูแลตัวเองยังไงให้ผลลัพธ์อยู่นานขึ้น?

รีแพร์ช่องคลอด ก่อน-หลังรีแพร์แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

5 อาการหลังทํารีแพร์ที่ควรระวัง หากดูแลไม่ดีส่งผลอันตรายได้

ปรึกษาเพิ่มเติม สอบถามคิว นัดจองคิว

บทความที่น่าสนใจ