ฉีดโบ ท็ อก แล้วปวดกราม มาก อันตรายมั้ย แก้ยังไงดี?

ฉีดโบ ท็ อก แล้วปวดกราม มาก อันตรายมั้ย แก้ยังไงดี?

ฉีดโบ ท็ อก แล้วปวดกราม มาก  ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยทีเดียวค่ะสำหรับผู้ที่เข้ารับบริการฉีดโบท็อกซ์ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าในทุก ๆ หัตถการนั้นมักจะตามมาด้วยผลข้างเคียงเสมอค่ะ ตั้งแต่ผลข้างเคียงเล็ก ๆ ไปจนถึงอาการที่มีระดับความรุนแรง โดยสำหรับคนที่ต้องการปรับรูปหน้าให้เรียวกระชับ โบท็อกลดกราม มักจะเป็นหัตถการแรกที่หมอแนะนำให้คนไข้ทำ เนื่องจากเห็นผลชัดเจนในคนที่กล้ามเนื้อกรามใหญ่ แต่ก็มักตามมาด้วยอาการปวดกรามที่ได้กล่าวไปนั่นเอง ดังนั้น เพื่อคลายความกังวลกับอาการนี้ Rejavoo Clinic จึงรวบรวมข้อมูลมาฝากทุกคนกันค่ะ

ฉีดโบ ท็ อก แล้วปวดกราม มาก อันตรายหรือไม่ อาการนี้สามารถหายได้เองได้หรือเปล่า?

การฉีดโบท็อก หรือการฉีด Botulinum toxin A เป็นเทรนด์ความงามที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ เนื่องจากโบท็อกมีคุณสมบัติหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดกราม ลดแก้ม ยกกระชับกรอบหน้า ทำให้หน้าดูเรียวเล็ก รวมทั้งยังช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นบริเวณใต้ตา ตีนกา หน้าผาก ทำให้รูปลักษณ์แลดูอ่อนเยาว์ขึ้นได้ในราคาที่คนทั่วไปเอื้อมถึง แต่อย่างไรก็ตาม การฉีดโบท็อกก็อาจทำให้เกิดปัญหาหรือผลข้างเคียงตามมาได้เช่นกัน เช่น ฉีดแล้วปวดศีรษะ ปากเบี้ยว แก้มห้อยย้วยลง และอีกหนึ่งอาการที่มักพบบ่อยคืออาการปวดกรามที่ทำเอาหลาย ๆ คนเป็นกังวลจนลังเลว่าควรจะลงทุนกับการฉีดโบท็อกดีหรือเปล่า และเพื่อคลายข้อสงสัย เรามาทำความเข้าใจกับผลข้างเคียงอาการนี้กันค่ะ

“โบท็อกซ์” คือ…

Botox คือ สารที่สกัดจากแบคทีเรียสายพันธุ์เฉพาะ (Clostridium botulinum) ตัวสารอยู่ในรูปโปรตีนที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถจับกับปลายเส้นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อ แล้วไปยับยั้งการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทบริเวณนั้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณที่ได้รับ Botox หดตัวไม่ได้และอยู่ในสภาพคลายตัวในที่สุด

ซึ่งนอกจากนี้ การฉีด Botox เข้าไปที่กล้ามเนื้อแล้ว ยังมีเทคนิคการฉีด Botox ที่เรียกว่า Microbotox technique เป็นการฉีด Botox เข้าที่ผิวหนัง จะช่วยให้ผิวหนังตึงกระชับ ผิวที่หย่อนคล้อยดูยกขึ้น รูขุมขนเล็กลง และลดความมันของใบหน้าด้วย

ฉีดโบท็อกซ์ช่วยอะไร 

จากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า โบท็อกซ์ ถือเป็นหัตถการอันดับต้น ๆ ที่นำมาใช้ปรับรูปหน้าเรียว ลดริ้วรอย ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในไทย ซึ่งนอกจากคุณสมบัติดังกล่าวก็ยังมีความสามาถอีกมากมาย เช่น…

  • คลายขนาดกล้ามเนื้อที่หดตัวให้เรียบตึงขึ้น
  • รอยย่นบริเวณหน้าผาก ตีนกา หางตา ระหว่างคิ้ว
  • ผิวหนังบริเวณคอ มือ ที่เหี่ยวย่น โบท็อกซ์ช่วยให้ใบหน้ากลับมาเรียบเนียนและดูเด็กขึ้น
  • ลดขนาดปีกจมูกให้เล็กลงเห็นสันแกนจมูกชัดเจนขึ้น
  • ฉีดใต้วงแขน รักแร้ ช่วยลดการทำงานของต่อมเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกน้อยลง
  • ลิฟท์กรอบหน้า

ซึ่งนี่เป็นเพียงความสามารถส่วนหนึ่งของโบท็อกซ์เท่านั้น โดยเจ้าสารชนิดนี้ยังมีข้อดีอีกมากมาย ซึ่งผลลัพธ์ก็จะขึ้นอยู่รายบุคคลและบริเวณที่ฉีดด้วย

ฉีดโบ ท็ อก อันตราย ไหม มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้ว การฉีดโบท็อกซ์นั้นไม่ได้ส่งผลอันตรายถึงชีวิต เมื่อการหัตถการดังกล่าวถูกดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญและใช้ฉีดเพื่อความสวยงาม ทั้งนี้ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีด Botox ได้แก่

  • บวม แดง ช้ำ เขียว ตรงบริเวณที่ฉีด
  • แพ้เห่อแดง ที่ผิวหนัง
  • หน้าแข็งตึง รู้สึกว่าไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้ สาเหตุเกิดจากปริมาณโบท็อกซ์ที่ฉีดเข้าไปไม่เหมาะสม
  • หางคิ้วกระดก เทคนิคการฉีดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง อาจทำให้คิ้วเลิกสูงขึ้น รวมทั้งยังอาจทำให้เกิดรอยย่นขึ้นที่ด้านข้างของคิ้วเพิ่มขึ้นได้ด้วย
  • หนังตาตก เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต ซึ่งเป็นเพียงแค่ชั่วคราว

ทั้งนี้ ผลข้างเคียงส่วนมากที่เกิดขึ้นมักเป็นแบบเฉพาะที่ เช่น หนังตาตก  หน้าไม่สมมาตร หรือจุดเลือดออกในบริเวณที่ฉีด ซึ่งเกิดได้แม้ในมือผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นแพทย์และผู้ทำการรักษาจึงควรคุยกันโดยละเอียดก่อนการฉีดทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่คาดหวัง

“ปวดกราม” อีกหนึ่งอาการที่พบบ่อย ผลข้างเคียงนี้อันตรายหรือไม่?

มักที่จะมีอาการปวดกรามอยู่บ่อย ๆ และกล้ามเนื้อมุมกราม จะฝ่อตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลข้างเคียงหลังฉีดโบท็อกบริเวณกรามดังกล่าว อาจมีรอยช้ำจากเข็มเพียงเล็กน้อย และมีอาการปวด เมื่อย เกิดขึ้นได้เป็นปกติสามารถหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน ค่ะ

เมื่อเกิดผลข้างเคียง ควรทำอย่างไร?

ผลจากการฉีด โบทูลินั่มท็อกซิน นั้นจะค่อย ๆ หมดไปเองภายในเวลาเป็นหลักเดือน ดังนั้นผู้รับการรักษาอาจรอให้ผลของ โบทูลินั่ม ท็อกซิน หมดไปเองก็ได้ ส่วนในกรณีที่เกิดหนังตาตกนั้น ผู้รับการรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาเพื่อแก้ไขเป็นกรณีไปเพื่อให้แพทย์ได้ทำการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ ในกรณีมีอาการบวมแดงหรือช้ำสามารถประคบน้ำแข็งได้ในช่วง 1-2 วันแรก หลังฉีด พยายามขยับกล้ามเนื้อ บริเวณที่ฉีด 1-2 ชั่วโมง หลังฉีดเพื่อให้ยากระจายเข้ากล้ามเนื้อได้มากขึ้น รอยนูนจากการฉีดจะหายไปเองภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง

ฉีดโบท็อกซ์ที่ Rejavoo Clinic ปลอดภัย ผลลัพธ์ปัง ให้บริการโดยแพทย์มืออาชีพ

สาเหตุที่ทำให้ Rejavoo Clinic ขิงเราเป็นหนึ่งในคลินิกที่ครบครันและตอบโจทย์ผู้เข้ารับบริการมากที่สุดในปี 2024 นั้น ประกอบด้วย…

คลินิกได้มาตรฐาน

ข้อแรกต้องตรวจเช็กก่อนกว่าคลินิกที่จะเข้ารับบริการ เปิดอย่างถูกต้องหรือไม่ โดยต้องมีใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งแสดงว่าผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน

มีแพทย์ที่ได้รับการรับรอง

ปัญหาหมอปลอม หมอเถื่อน มีให้เห็นมากขึ้นพร้อม ๆ กับการเติบโตของตลาดความงาม ดังนั้นก่อนฉีดโบท็อก คนไข้ต้องมั่นใจว่าหมอที่ฉีดให้เป็นหมอจริง โดยคลินิกต้องมีชื่อ-นามสกุลของแพทย์ เลขว. และรูปถ่ายหมอที่ประจำคลินิก คนไข้สามารถนำไปตรวจสอบกับเว็บไซต์ของแพทยสภาได้

แพทย์ของเรามีประสบการณ์

การฉีดโบท็อกต้องฉีดกับหมอ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะฉีดกับหมอคนไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์เท่านั้นเพราะประสบการณ์ของแพทย์ช่วยเพิ่มความชำนาญในการประเมินปัญหาของคนไข้ได้อย่างตรงจุด รวมถึงมีความแม่นยำในการฉีด สามารถหลบเลี่ยงจุดที่เสี่ยงอันตราย หรือลดโอกาสที่เข็มจะโดนเส้นเลือดและทำให้เกิดรอยช้ำได้

ใช้โบท็อกแท้ มีคุณภาพ

โบท็อกที่ผ่านการนำเข้าอย่างถูกต้อง ผ่าน อย. รู้ที่มาที่ไปของตัวยา ถูกขนส่งและเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ใช่โบท็อกหิ้วที่ลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ผู้เข้ารับบริการสามารถเช็กเลข Lot. ของโบท็อกได้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจเข้ารับบริการฉีดโบท็อกซ์ ทุก ๆ คนต้องทราบก่อนว่าโบท็อกซ์นั้นมีหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันไป ควรเลือกจากปัญหาที่ต้องการแก้ไข เลือกตามความต้องการ หรือตามงบประมาณที่มี แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนการเลือกใช้ยี่ห้อโบท็อกซ์คือ ควรเลือกใช้โบท็อกซ์แท้และผ่านอย.ไทยเท่านั้น รวมถึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยด้วย

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ฉีดฟิลเลอร์ห้ามกินอะไร 7 เมนูตัวร้ายสลายฟิลเลอร์ที่ควรเลี่ยง

ปากหนา ฉีดฟิลเลอร์ได้ไหม หากฉีดไปแล้วจะไม่เป็นทรงหรือเปล่า?

ข้อ ห้าม หลัง ฉีด filler ที่เหล่า Beginer ควรรู้!

ปรึกษาเพิ่มเติม สอบถามคิว นัดจองคิว

บทความที่น่าสนใจ