หัวเราะแล้วฉี่ไหล มีปัสสาวะเล็ดออกมา เกิดจากอะไรกันแน่? แม้จะดูเป็นปัญหาที่ดูจะไม่มีอันตรายมากมายนัก แต่ต้องบอกก่อนค่ะว่าเป็นภาวะที่ทำให้คุณผู้หญิงทุก ๆ คนสูญเสียความมั่นใจและกังวลใจอยู่ไม่น้อย เพราะนอกจากจะเกิดความไม่มั่นใจในสุขภาพของตัวเองแล้วก็อาจจะทำให้มีความกังวลถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองด้วย ดังนั้น ในบทความนี้ Rejavoo จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะนี้พร้อมวิธีการแก้ไขมาฝากคุณผู้หญิงทุกคนกันค่ะ
หัวเราะแล้วฉี่ไหล เกิดจากอะไร อันตรายต่อสุขภาพของคุณผู้หญิงมากน้อยแค่ไหน?
มีผู้หญิงวัย 40+ หลายคนต้องเผชิญกับ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หัวเราะ ไอ จาม มีปัสสาวะเล็ด ซึ่งปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องที่นำมาเล่าให้ใครฟังได้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องน่าอาย จนทำให้ขาดความมั่นใจ และอาจกลายเป็นปัญหาในชีวิตไปเลยก็ว่าได้ สำหรับคนที่ต้องเผชิญกับปัญหาปัสสาวะเล็ด คงกังวลและเครียดอยู่ไม่น้อย ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จัก อาการปัสสาวะเล็ด รวมไปถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้กัน เพื่อจะได้เข้าใจและรับมือได้ทันเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง
ปัสสาวะเล็ดในผู้หญิงเกิดจากอะไร
เกิดจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งเส้นเอ็นที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของผู้หญิงอ่อนแอลง หรือเกิดภาวะหย่อนยานของผนังช่องคลอดด้านหน้า ทำให้ไม่สามารถพยุงท่อปัสสาวะไม่ให้มีการหย่อนตัวได้ ซึ่งในขณะที่เรา ไอ จาม หรือออกกำลังกายนั้นจะมีการเพิ่มแรงดันในช่องท้องเกิดขึ้น ส่งผลให้ท่อปัสสาวะและหูรูดท่อปัสสาวะที่หย่อนตัว ไม่สามารถปิดกั้นแรงดันปัสสาวะที่ถูกส่งผ่านแรงดันมาจากในกระเพาะปัสสาวะได้ จึงทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดออกมานั่นเอง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดแบ่งออกเป็นแต่ละประเภทดังนี้
อายุที่มากขึ้น
มีส่วนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานกระเพาะปัสสาวะ เกิดความเปลี่ยนแปลงและบรรจุน้ำปัสสาวะได้น้อยลง
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ซึ่งฮอร์โมนนี้จะช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะมีความแข็งแรง และเมื่อผลิตฮอร์โมนนี้น้อยลงจึงทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเสื่อมสภาพ
การคลอดบุตร
โดยเฉพาะจำนวนของการคลอดบุตร จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะอ่อนแอลง จนทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก (คนอ้วน) หรือ โรคอ้วน
เพราะไขมันส่วนเกิน จะเข้าไปกดทับบริเวณท้องน้อย เพิ่มแรงกดทับลงบนกระเพาะปัสสาวะ ทำให้มีการบีบตัวส่งผลให้น้ำปัสสาวะไหลเล็ดออกมาได้
อาการของโรคปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะเล็ด เป็นอาการที่ไม่สามารถควบคุมกระเพาะปัสสาวะได้ ทำให้มีปัสสาวะไหล เล็ดออกมาโดยไม่ตั้งใจ และอาจรู้สึกปวดปัสสาวะมากจนกลั้นไว้ไม่อยู่ โดยอาจเกิดขึ้นขณะไอ จาม หัวเราะ ออกกำลังกาย หรือยกของหนัก ซึ่งปกติแล้วจะพบในผู้หญิงสูงอายุ แต่ก็สามารถพบได้ในผู้หญิงอายุน้อยด้วยเช่นกัน
โรคปัสสาวะเล็ด อันตรายมั้ย?
อาการปัสสาวะเล็ด ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอีกต่อไป เพราะสามารถรักษาหายหรือช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ แต่หากละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้ ปัสสาวะซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ อาจจะกัดเนื้อเยื่อจนเป็นแผล มีกลิ่นเหม็น คัน และอาจเป็นที่เจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ อย่างไรก็ตาม อันตรายของโรคนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดปัสสาวะเล็ด ในบางรายเกิดจากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวผิดปกติโดยไม่พบสาเหตุชัดเจน แต่บางรายอาการปัสสาวะเล็ดอาจเกิดจากมีนิ่ว หรือเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะซึ่งไม่ได้รับการตรวจรักษาก็เป็นได้ จึงจำเป็นต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะโดยตรง
วิธีรักษาเมื่อปัสสาวะเล็ด มีอะไรบ้าง?
มีตั้งแต่วิธีง่ายๆ ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้ จนต้องพบแพทย์หากเป็นขั้นรุนแรง
- การรับประทานยา เช่น ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะ ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหูรูดที่ช่วยสนับสนุนกระเพาะปัสสาวะอยู่ โดยช่วยลดอาการปวดปัสสาวะและความถี่ในการถ่ายปัสสาวะ
- หัดปัสสาวะให้เป็นนิสัย หัดควบคุมการถ่ายปัสสาวะไม่ให้บ่อยเกินไป ซึ่งปกติคือปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรือวันละ 4-8 ครั้ง หากมากกว่านี้ถือว่ามากเกินไป
- บริหารอุ้งเชิงกรานให้แข็งแรง ด้วยการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณนี้ (รอบช่องคลอด) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เช่น ขมิบค้างไว้ 5 วินาที และค่อยๆ ขยับเป็น 15 วินาที ในรายที่เป็นไม่รุนแรงน่าจะสามารถช่วยให้จำนวนครั้งในการเล็ดค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะหากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจทำให้ปัสสาวะเข้มข้นและทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะปัสสาวะได้ และควรงดเว้นเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์รวมทั้งน้ำอัดลม เพราะจะยิ่งระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นได้
- การขมิบช่องคลอด เพื่อให้กล้ามเนื้อช่องคลอดและท่อปัสสาวะแข็งแรงขึ้น แต่เห็นผลค่อนข้างช้าและต้องทำเป็นประจำ โดยวิธีการคือ สามารถขมิบช่องคลอดได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งการขมิบที่ถูกต้องคือขมิบเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานเท่านั้น คล้ายกับเวลากลั้นอุจจาระ หรือปัสสาวะ โดยไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องหรือต้นขาร่วมด้วย ขมิบแต่ละครั้งทำค้างไว้ 10-20 วินาที แล้วคลายออกในเวลาเท่ากันแล้วจึงเริ่มขมิบใหม่ สามารถทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการ โดยระยะแรกอาจทำเพียงน้อยครั้งแล้วจึงเพิ่มขึ้นทั้งระยะเวลาและความถี่เมื่อชำนาญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากท่านไม่แน่ใจว่าจะขมิบได้ถูกต้องหรือไม่ สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ได้
- การรีแพร์กระชับช่องคลอด เทคนิคการผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอดให้กระชับขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหา
“รีแพร์ช่องคลอด” วิธีนี้คืออะไร ช่วยแก้ปัญหาช่องคลอดได้ยังไง?
รีแพร์ (Repair) หรือ การซ่อมแซม คือ การผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอดให้กระชับขึ้น เพื่อให้ขนาดหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดเล็กลงและเกิดการหดรัดที่ดีกว่าเดิม โดยเป็นการผ่าตัดตลอดแนวความลึกของช่องคลอด รวมถึงการผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดด้วย
และหากถามว่าวิธีนี้ช่วยแก้ปัญหาช่องคลอดหย่อยคล้อยได้อย่างไร คำตอบคือ นั่นเป็นเพราะ “ปัญหาช่องคลอดหย่อนยาน” ที่คุณผู้หญิงกำลังประสบอยู่ จะมีลักษาะที่ผิวด้านในจนถึงปากช่องคลอดที่เกิดหย่อนยานจนมีเนื้อห้อยปลิ้นออกมา ร่วมกับมีความรู้สึกคล้ายกับช่องคลอดหลวม หรือรู้สึกว่ามีน้ำหนักถ่วงอยู่บริเวณจุดซ่อนเร้นจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้ โดยปัญหาช่องคลอดหลวมอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การคลอดบุตร อาการของโรคบางชนิดที่เกิดแรงดันต่อผิวอุ้งเชิงกราน การยกของหนัก ออกกำลังกายหนัก และอายุที่มากขึ้น หลาย ๆ คนจึงเลือกใช้วิธีรีแพร์เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดที่สุดนั่นเอง
รีแพร์ช่องคลอด มีกี่แบบ
รูปแบบการรีแพร์ที่นิยมทำกันในปัจจุบันแบ่งออกได้ 4 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่
รีแพร์ด้วยการยิงเลเซอร์
เป็นวิธีปรับความหย่อนคล้อยของผิวโดยการสัมผัสหรือสอดอุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอด จากนั้นจะค่อยๆ ปล่อยพลังงานออกมาปรับสภาพเนื้อเยื่อที่เสื่อมสภาพให้เกิดความกระชับขึ้น เครื่องยิงเลเซอร์ที่ใช้ทำรีแพร์ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานพยาบาล
รีแพร์ด้วยการฉีดฟิลเลอร์
ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารสังเคราะห์ของสารไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid) ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในเนื้อผิวมนุษย์ทุกคน ทำหน้าที่สร้างความเต่งตึงให้ผิวดูมีมิติ อิ่มเอิม ไม่เหี่ยวย่น และสามารถนำมาฉีดบริเวณจุดซ่อนเร้นเพื่อแก้ไขความหย่อนยานได้เช่นกัน
รีแพร์โดยการผ่าตัด
การผ่าตัด เป็นการทำรีแพร์เพื่อเปลี่ยนแปลงผิวช่องคลอดที่หย่อนยาน ซึ่งจัดเป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่จำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล และช่วยปรับสภาพความหย่อนยานของช่องคลอดได้กึ่งถาวรเลยทีเดียว ดังนั้น จึงเป็นอีกวิธีที่หลาย ๆ คนเลือก
รีแพร์แบบ HIFU
HIFU (High Intensity Focused Ultrasound) หรือ “ไฮฟู” เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มสูงในการกระชับผิว นอกจากจะใช้กันอย่างแพร่หลายในการเสริมความงามบนใบหน้าเพื่อกระชับผิวและลดริ้วรอยแล้ว เทคโนโลยีนี้ยังนำมาใช้รักษาให้ช่องคลอดและปากช่องคลอดกระชับขึ้นได้ โดยไม่ต้องผ่าตัด โดย HIFU จะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอดสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินขึ้นใหม่ มีการเรียงตัวที่ดีขึ้น ทำให้ผิวและเนื้อเยื่อที่บริเวณนี้ได้รับการฟื้นฟู และกระชับมากกว่าเดิมนั่นเอง
รีแพร์ช่องคลอด จาก Rejavoo Clinic
บริการรีแพร์จาก Rejavoo Clinic เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ความเข้มสูงในการกระชับผิวที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างแพร่หลาย ซึ่ง Rejavoo Clinic ก็ได้นำจุดโดดเด่นของการรีแพร์ด้วยเทคโนโลยีแบบพิเศษเฉพาะของทางคลินิก ซึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีรีแพร์ของเราที่เหนือเทคโนโลยีอื่นก็คือ การใช้อัลตราซาวด์ที่มีความเข้มสูง สามารถลงลึกได้ถึงชั้น SMAS (Superficial Muscular Aponeurotic System) ซึ่งเป็นชั้นที่ค่อนข้างลึกและอยู่ติดกับชั้นกล้ามเนื้อโดยปกติแล้วแพทย์จะผ่าตัดที่ผิวหนังชั้นนี้เพื่อแก้ไขให้ผิวกระชับขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีจาก รีแพร์ของ Rejavoo Clinic ก็สามารถทำให้ผิวและเนื้อเยื่อกระชับได้มีประสิทธิภาพกว่าเทคโนโลยีอื่น ซึ่งจะคอยกระตุ้นให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคลอดและปากช่องคลอดสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินขึ้นใหม่ และมีการเรียงตัวที่ดีขึ้น ทำให้ผิวและเนื้อเยื่อที่บริเวณนี้ได้รับการฟื้นฟู และกระชับมากกว่าเดิมนั่นเอง
Rejavoo Clinic คลินิกเพื่อความสวยความงาม ครบทุกวงจร
ผู้นำนวัตกรรมด้านความสวยความที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นด้านผิวพรรณ ด้านการกระชับตามจุดต่าง ๆ และหัตถการฉีดใบหน้า ซึ่งเรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย ปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการรีแพร์ได้รับความประทับใจและปลอดภัยจากบริการที่มีประสิทธิภาพจากทาง Rejavoo Clinic ให้ได้มากที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำรีแพร์อยู่ได้นานไหม ดูแลตัวเองยังไงให้ผลลัพธ์อยู่นานขึ้น?
รีแพร์ช่องคลอด ก่อน-หลังรีแพร์แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
5 อาการหลังทํารีแพร์ที่ควรระวัง หากดูแลไม่ดีส่งผลอันตรายได้
ปรึกษาเพิ่มเติม สอบถามคิว นัดจองคิว
บทความที่น่าสนใจ
ฉีดโบท็อก กินปลาร้าได้ไหม หากเผลอกินเข้าไปจะเกิดอันตรายหรือเปล่า
ฉีดโบท็อก หน้าไม่เท่ากัน ปรับสัดส่วน แก้ให้จึ้ง ทำให้ถึง ที่ Rejavoo
หลังฉีดโบท็อก ห้ามกินอะไรบ้าง ของกิน 4 อย่างที่ควรงด!!
หลังฉีดโบท็อก แต่งหน้าได้ไหม ต้องรอนานแค่ไหนถึงจะแต่งได้ปกติ
ฉีดฟิลเลอร์ปาก ช้ำม่วง เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ แก้ยังไงดี
ฟิลเลอร์ละลาย เพราะอากาศร้อน เกิดขึ้นได้มั้ย มาไขข้อสงสัยกัน!
ทำรีแพร์อยู่ได้นานไหม? อยากให้ความฟิตอยู่นานๆ ดูแลยังไงดี
ช่องคลอดหลวม หลังคลอด คุณแม่หนักใจ ทำยังไงให้ฟิตเหมือนเดิม?
ฉีด โบ ท็ อก แล้วปากเบี้ยว แก้ ยัง ไง เป็นผลข้างเคียงอันตรายที่ต้องหาหมอหรือเปล่า?