อาการหลังทํารีแพร์ เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงพอทราบมาบ้างว่า การทำรีแพร์เพื่อยกกระชับช่องคลอดนั้นย่อมมีอาการหรือผลข้างเคียงหลังเข้ารับบริการตามมา แต่อาจเป็นที่สงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าอาการไหนคืออาการที่เกิดขึ้นได้ปกติ และอาการไหนที่ผิดปกติ ในบทความนี้ Rejavoo Clinic จึงได้ทำการแยกอาการข้างเคียงต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้คุณผู้หญิงสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า อาการข้างเคียงแบบไหนเป็นอาการปกติและอาการไหนที่ควรระวังบ้าง
อาการหลังทํารีแพร์ ที่ควรระวังหลังเข้ารับบริการ มีอะไรบ้าง และจะดูแลตนเองอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น?
รีแพร์ (Repair) หรือ การซ่อมแซม คือ การผ่าตัดตกแต่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานภายในช่องคลอดให้กระชับขึ้น เพื่อให้ขนาดหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องคลอดเล็กลงและเกิดการหดรัดที่ดีกว่าเดิม โดยเป็นการผ่าตัดตลอดแนวความลึกของช่องคลอด รวมถึงการผ่าตัดตกแต่งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดด้วย
รีแพร์ช่องคลอด เหมาะกับใครบ้าง
นอกจากปัญหาช่องคลอดหลวมแล้ว ผู้ที่เหมาะกับการรีแพร์ยังมักจะมีอาการหรือผลกระทบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น..
- มีลมออกมาทางช่องคลอด
- ปัสสาวะเล็ดง่าย โดยเฉพาะเวลาไอ จาม ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงดัน
- รู้สึกปัสสาวะไม่สุด ปวดปัสสาวะบ่อย
- รู้สึกไม่สบายตัวระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน
ซึ่งปัญหาเหล่านี้ แม้จะดูเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่หรือรุนแรง แต่ก็ส่งผลการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ซึ่งแย่ที่สุด อาจกระทบต่อความสัมพันธ์กับคู่รักได้อีกด้วย
รีแพร์ช่องคลอด มีกี่แบบ
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการรีแพร์นั้นมีหลายแบบ แต่หลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 2 แบบด้วยกัน คือ
กระชับช่องคลอดแบบผ่าตัด
เป็นการรีแพร์ หรือ ผ่าตัดแก้ปัญหาและเย็บน้องสาวให้กระชับขึ้น โดยจะมีบาดแผลเกิดขึ้นในช่องคลอด ซึ่งหลังจากรีแพร์คนไข้จะต้องหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุอาจทำให้แผลที่บริเวณช่องคลอด เกิดการฉีกขาดหรือมีแผลเพิ่มขึ้นจากเดิม หลีกเลี่ยงกิจกรรมทุกประเภท ที่จะเกิดการกระทบแผลจากการผ่าตัด แม้กระทั้งการไอ หรือจาม แรง ๆ ก็อาจส่งผลได้
กระชับช่องคลอดแบบไม่ผ่าตัด
ส่วนใหญ่ การรีแพร์แบบไม่ผ่าตัด จะเป็นการใช้คลื่นความถี่เพื่อการกระชับช่องคลอด นวัตกรรมใหม่ในการทำรีแพร์ เป็นการใช้พลังงานคลื่นความถี่ RF หรือ Radio Frequency เป็นการทำรีแพร์โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด โดยใช้เครื่องมือเลเซอร์ ที่มีหัวเลเซอร์ขนาดเล็กๆ ใส่เข้าไปบริเวณช่องคลอดที่เราต้องการทำการรักษาจากนั้นจะมีการปล่อยคลื่นความถี่วิทยุความถี่ที่ปลอดภัย จากกระแสไฟฟ้าออกมาที่หัวเลเซอร์ ซึ่งเป็นการกระชับช่องคลอดโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดแบบเดิมอีกต่อไป ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนตามธรรมชาติ โดยไม่มีความรู้สึกเจ็บขณะทำ
อย่างไรก็ตาม การทำรีแพร์เพื่อกระชับช่องคลอด จะแตกต่างจากการผ่าตัดวิธีอื่นคือ แผลที่ทำรีแพร์จะเป็นแผลที่แช่อยู่ในน้ำตลอดเวลา เพราะน้ำคัดหลั่งจากช่องคลอด จึงทำให้มีเชื้อแบคทีเรียเฉพาะของส่วนนั้นอยู่แล้ว หรือในบางคนที่มีตกขาวมาก อาจมีเชื้อราหรือแบคทีเรียบางตัวซ่อนเร้นอยู่ เป็นเหตุให้การผ่าตัดรีแพร์ต้องมีการดูแลค่อนข้างจะพิเศษ ซึ่งแผลรีแพร์จำเป็นต้องโดนน้ำ ยิ่งต้องทำความสะอาด พราะว่าถ้าไม่ทำความสะอาดไม่เช่นนั้นก็จะยิ่งทำให้แผลมีโอกาสที่จะเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อได้ง่ายยิ่งขึ้นอีก
ผลข้างเคียงหลังทํารีแพร์ ที่อาจเกิดขึ้นได้
โดยปกติแล้ว หลังการทำรีแพร์ก็จะเป็นเช่นเดียวกับหัตถการในการศัลยกรรมทั่วไปที่จะมีผลข้างเคียงตามมา ซึ่งการรีแพร์ก็จะมีผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ปกติ อาทิเช่น…
- สูญเสียความรู้สึก ความพึงพอใจขณะมีเซ็กส์ เนื่องจากการทำรีแพร์อาจไปกระทบเส้นประสาทบางส่วน ขาดน้ำหล่อลื่น ทำให้ไม่ถึงจุดสุดยอด
- เจ็บระหว่างมีเซ็กส์ ถ้าทำการผ่าตัดรีแพร์แล้วฟิตเกินไป หรือรู้สึกเจ็บในบางส่วนอยู่เสมอเมื่อมีเซ็กส์
- ไวต่อความรู้สึก คุณอาจจะรู้สึกว่าบางบริเวณไวต่อความรู้สึกมากจนเกินไป ทำให้รู้สึกไม่สบายแม้ขณะเดินหรือนั่ง
- มีเลือดออกทางช่องคลอด หลังจากทำรีแพร์ถ้าแผลยังไม่หายดีก็จะมีเลือดออกมาคล้ายกับมีประจำเดือน ต้องใส่ผ้าอนามัยเพื่อช่วยซึมซับเลือดไปสักระยะหนึ่ง
- รู้สึกปัสสาวะลำบาก ถ้าไม่สามารถปัสสาวะได้ด้วยตนเองอาจต้องใส่สายสวนปัสสาวะช่วย ซึ่งมักเป็นแค่ในช่วงแรกหลังทำรีแพร์
5 อาการหลังการทำรีแพร์ที่ผิดปกติ และควรเฝ้าระวัง
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่าการทำรีแพร์ย่อมมีผลข้างเคียงที่เจอได้ตามปกติในช่วงแรก ๆ หลังเข้ารับบริการ แต่ก็ยังมีอาการส่วนหนึ่งที่ถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายและควรเฝ้าระวัง เช่น
1.อาการปวดบริเวณแผลผ่าตัด
ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอด (รีแพร์) ในระยะ 2-3 วันแรก ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจมี ภาวะแทรกซ้อน หลังการผ่าตัด ตกแต่งช่องคลอด (รีแพร์) เนื่องจากอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัดและบริเวณก้นกบ รวมทั้งอาจมีอาการปวดเบ่งคล้ายอยากถ่ายอุจจาระตลอดเวลา ผู้เข้ารับการผ่าตัดควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำหลังการผ่าตัด ซึ่งได้แก่ การเดินหรือการขึ้นลงบันได รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระจากภาวะท้องผูก โดยการรับประทานยาระบาย ในกรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัด มีอาการปวดบริเวณแผลผ่าตัดมากขึ้น ควรกลับมาพบแพทย์ โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด
2.มีภาวะปัสสาวะลําบาก หรือปัสสาวะไม่ออก
ในผู้เข้ารับการผ่าตัดบางรายที่แพทย์อาจจะแนะนําให้นอนพักโรงพยาบาล หลังการผ่าตัดผู้เข้ารับการผ่าตัดจําเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ 1 วัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้เข้ารับการผ่าตัดจะสามารถปัสสาวะได้เอง หลังการถอดสายสวนปัสสาวะ
อย่างไรก็ตามพบว่ามีผู้เข้ารับการผ่าตัดบางราย อาจมีอาการไม่ออกหรือมีอาการปัสสาวะลำบากหลังการผ่าตัด ซึ่งพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 ของการผ่าตัด โดยเฉพาะในระยะ 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด ทั้งนี้มักจะพบในผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่มีอาการปวดแผลผ่าตัดมาก ซึ่งทำให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ส่งผลต่อการคลายตัวของหูรูดของท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะลำบาก ในผู้เข้ารับการผ่าตัดที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น โดยทั่วไปจําเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะกลับบ้าน ซึ่งผู้เข้ารับการผ่าตัดจะได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง จนกว่าภาวะดังกล่าวจะดีขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้โดยทั่วไปแพทย์จะนัดถอดสายสวนปัสสาวะ 2-3 วันหลังการผ่าตัด
3.ภาวะเลือดออกมากผิดปกติ
อาจพบได้ประมาณน้อยกว่าร้อยละ 1 ดังนั้นผู้ต้องการเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรรับประทานยาในกลุ่มแอสไพริน หรือกลุ่มยาลดการแข็งตัวของเลือด 10-15 วัน ก่อนหรือหลังการผ่าตัด
บริเวณที่ทำการผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกมากผิดปกติได้ เนื่องจากช่องคลอดเป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดค่อนข้างมาก ดังนั้นแพทย์ผู้ผ่าตัดต้องให้ความระมัดระวังในการผ่าตัด โดยทําการเย็บแผลผ่าตัดทั้งหมด 2-3 ชั้น รวมทั้งมีเทคนิคการเย็บแผลผ่าตัดที่ดี ในการป้องกันการเกิดภาวะแผลแยก แล้วทำให้มีเลือดออกมากผิดปกติ ในส่วนของผู้เข้ารับการผ่าตัด ควรจะต้องหยุดทำงาน และงดกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำเป็นประจำ ในระยะ 2-3 วันแรกหลังการผ่าตัด รวมทั้งต้องงดการออกกำลังกายและงดการมีเพศสัมพันธ์ หลังการผ่าตัดอย่างน้อย 6 สัปดาห์
กรณีหลังการผ่าตัด มีเลือดออกมากชุ่มผ้าอนามัย หรือมีเลือดออกเป็นก้อนสีแดงสด กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจแผลผ่าตัด
4.เกิดรูรั่วที่แผลผ่าตัด
การเกิดรูรั่วที่แผลผ่าตัดระหว่างลําไส้กับช่องคลอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสพบได้น้อยมาก อาการที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ มีไข้สูง, เกิดติดเชื้อในกระแสเลือด, มีหนองไหลออกมาจากช่องคลอด หรือมีอุจจาระไหลออกทางช่องคลอด ทางทฤษฎีถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ซึ่งจําเป็นต้องทําการผ่าตัดแก้ไข ดังนั้นหากผู้เข้ารับการผ่าตัดมีสารคัดหลั่ง ที่มีกลิ่นคล้ายอุจจาระจากช่องคลอด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
5.แผลอักเสบ หรือแผลติดเชื้อ
เนื่องจากแผลผ่าตัดอยู่บริเวณที่ใกล้ทางเดินปัสสาวะและอุจจาระ ซึ่งมีแบคทีเรียชนิดต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เนื่องจากการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้ ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อแล้วเกิดแผลแยก โดยการฉีดยาปฏิชีวนะก่อนการผ่าตัด และการรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสําคัญ
ภาวะแผลติดเชื้อหลังการผ่าตัดเป็นภาวะที่อาจพบได้ ถือเป็นเหตุสุดวิสัยและมักเกิดในกรณีที่ผู้เข้ารับการผ่าตัดที่ไม่ปฏิบัติตามคําแนะนํา หรือปฏิบัติตามคําแนะนําไม่ถูกต้อง และในผู้เข้ารับการผ่าตัด ที่มีภาวะติดเชื้อในช่องคลอดก่อนการผ่าตัดอยู่แล้ว รวมทั้งในผู้เข้ารับการผ่าตัดมีโรคประจําตัว เช่น โรคเบาหวาน
กรณีผู้เข้ารับการผ่าตัดมีไข้สูงไม่ทราบสาเหตุและมีอาการปวดที่แผลผ่าตัด กรุณาโทรติดต่อโรงพยาบาลทันที เพื่อขอรับคำแนะนำ หรือกลับมาพบแพทย์ เพื่อตรวจแผลผ่าตัด กรณีมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ผู้เข้ารับการผ่าตัดต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพิ่มเติมและเสียค่ายาตามจริง
อาการหลังการทำรีแพร์แบบไม่ผ่าตัด
ส่วนมากแล้วไม่ค่อยมีผลข้างเคียงหลังการทำรีแพร์แบบไม่ผ่าตัด เพียงปฏิบัติตัวไม่ให้กระทบกับช่องคลอดก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวล สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันที
การดูแลตนเองหลังทำรีแพร์แบบเบื้องต้น
เพื่อไม่ให้แผลกระทบกระเทือน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้เข้ารับบริการควรดูแลตนเองตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
- งดออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรง การยกของหนัก 4 สัปดาห์
- งดมีเพศสัมพันธ์ 2 เดือน
- เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อย โดยเฉพาะการเดินหรือวิ่ง เพือป้องกันแผลอักเสบหรือฉีกขาด
- งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่แบบระยะยาว
- ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดในทุกเช้ากับเย็น รวมถึงหลังปัสสาวะและอุจจาระทุกครั้ง
- พักผ่อนให้เพียงพอทุกคืน
- สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติทุกอย่าง แต่ให้ดื่มน้ำมากๆ ด้วย
- มาพบแพทย์เพื่อตรวจความเรียบร้อยของแผลสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่มีปัญหาช่องคลอดหลวม จากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนมากแล้ว อาจต้องทำรีแพร์ ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ละเอียดอ่อน ดังนั้น คุณผู้หญิงควรพูดคุยและทำความเข้าใจกับคนรักก่อนตัดสินใจทำรีแพร์ ต้องเลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำศัลยกรรมตกแต่งช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานโดยเฉพาะ เลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่ดีหลังการผ่าตัด
Rejavoo Clinic คลินิกเพื่อความสวยความงาม ครบทุกวงจร
ผู้นำนวัตกรรมด้านความสวยความที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็นด้านผิวพรรณ ด้านการกระชับตามจุดต่าง ๆ และหัตถการฉีดใบหน้า ซึ่งเรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย ปลอดภัย และได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้รับความประทับใจและปลอดภัยจากบริการที่มีประสิทธิภาพจากทาง Rejavoo Clinic ให้ได้มากที่สุด
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ทำรีแพร์อยู่ได้นานไหม ดูแลตัวเองยังไงให้ผลลัพธ์อยู่นานขึ้น?
รีแพร์ช่องคลอด ก่อน-หลังรีแพร์แล้วต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?
“รีแพร์” ศัลยกรรมกระชับช่องคลอด คืนความมั่นใจให้กับสาว ๆ
ปรึกษาเพิ่มเติม สอบถามคิว นัดจองคิว
บทความที่น่าสนใจ
ฉีดโบท็อก กินปลาร้าได้ไหม หากเผลอกินเข้าไปจะเกิดอันตรายหรือเปล่า
ฉีดโบท็อก หน้าไม่เท่ากัน ปรับสัดส่วน แก้ให้จึ้ง ทำให้ถึง ที่ Rejavoo
หลังฉีดโบท็อก ห้ามกินอะไรบ้าง ของกิน 4 อย่างที่ควรงด!!
หลังฉีดโบท็อก แต่งหน้าได้ไหม ต้องรอนานแค่ไหนถึงจะแต่งได้ปกติ
ฉีดฟิลเลอร์ปาก ช้ำม่วง เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ แก้ยังไงดี
ฟิลเลอร์ละลาย เพราะอากาศร้อน เกิดขึ้นได้มั้ย มาไขข้อสงสัยกัน!
ทำรีแพร์อยู่ได้นานไหม? อยากให้ความฟิตอยู่นานๆ ดูแลยังไงดี
ช่องคลอดหลวม หลังคลอด คุณแม่หนักใจ ทำยังไงให้ฟิตเหมือนเดิม?
ฉีด โบ ท็ อก แล้วปากเบี้ยว แก้ ยัง ไง เป็นผลข้างเคียงอันตรายที่ต้องหาหมอหรือเปล่า?